รับมือและป้องกัน PM 2.5 ภัยเงียบทำลายสุขภาพ
ฝุ่นพิษ PM 2.5 หรือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆ แม้แต่หน้ากากอนามัยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็เอาไม่อยู่ และเป็นสารพิษที่มองไม่เห็น ไม่มีกลิ่น แต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างหนัก โดยเฉพาะระยะนี้จุดตรวจทั่วกรุงเทพฯ พบว่ามีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนเกินค่ามาตรฐานอยู่บ่อยครั้ง (ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ ไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) การที่ผลตรวจวัดปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานนั้น หมายถึง ฝุ่นพิษ PM 2.5 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรามากขึ้นด้วย เพราะหากเข้าสู่ร่างกายทางโพรงจมูก อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ
อาการและผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน
- ไอ จาม มีน้ำมูก เสมหะและเจ็บคอ
- หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หลอดลมอักเสบ
- ก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุตา ถุงลมโป่งพอง เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร
- ใส่หน้ากากอนามัยที่ป้องกันได้
- ผู้มีโรคระบบทางเดินหายใจควรพกยาฉุกเฉินประจำตัว
นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพอนามัยหลังจากทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และหากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก เหนื่อยล้าผิดปกติ ไอรุนแรง อาจเป็นสัญญาณสุขภาพ ที่ควรพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค และป้องกันอันตรายที่อาจสายเกินแก้
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ. โสภณ ดวงทิพย์เนตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรศาสตร์อนุสาขาโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต,โรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745